Multi-sectoral workshop on criminal justice processes on the protection of women

The workshop is a joint collaboration between Office of the Attorney General (OAG), Thailand Institute of Justice (TIJ) and UN Women.โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย และ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) Full details ▼
Event type: Courses, workshops
Start date: 01 November 2017 | Start time: 01:00 UTC +00:00
End date: 03 November 2017 | End time: 06:30 UTC +00:00
Location: ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร, Bangkok, Thailand

Event description

Nowadays, there has been an increase in attention towards violence against women (VAW) particularly in forms of domestic violence and sexual conducts. Crimial justice process requires indisputable evidence to hold perpetrators accountable for their actions. The process can result in woman victim/witness at risk of secondary victimization throughout collection of evidence, forensic examinations and legal process. Initial inquiry from authority when reporting violence case, investigation and persecution requires extensive questioning back and forth repeatedly making victim relive trauma. In general, the trial and taking of evidence must be conducted in open court and in the presence of the accused. Cases related to sexual violence are highly sensitive and emotionally arduous and stigmatized for the victims.

Thailand has put in place protection mechanism for women during criminal justice process. For example, ensuring female authorities during inquiry and persecution process, prohibition of introduction of the complainant’s sexual history in both civil and criminal proceedings, when appearing in court and alternatives for giving evidence in a manner that does not require victims to confront the defendant, protection of female victim during temporary release (bail) and release of perpetrator to ensure safety of female victim and family. Such mechanisms are aligned with Update Model Strategies and Practical Measures on the Elimination of Violence against Woman in the field of Crime Prevention and Criminal Justice.

Objectives

To share and brainstorm knowledge and experience on criminal justice processes on the protection of women, challenges in law enforcement to develop clear, practical and standardized operational guideline and to improve skills and enforcement of women and family related legislations including the Criminal Procedure Code, Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550, Supreme Court Order on court proceeding prohibiting confrontation with defendant.

Resources

 

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
"การคุ้มครองผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา"

ปัจจุบันนี้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นประเด็นที่ทุกคนในสังคมให้ความสนใจและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้หญิงซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากคดีความรุนแรงในครอบครัว หรือคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ เพราะเมื่อเป็นผู้เสียหายและเป็นประจักษ์พยาน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องการพยานหลักฐานที่ชัดเจน เพื่อพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้เสียหาย และเป็นประจักษ์พยานในคดีดังกล่าวอาจจะถูกกระทำความรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำอีกผ่านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เริ่มตั้งแต่ขั้นแรกการสอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากเจ้าพนักงานของรัฐ เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือหรือเพื่อจะได้คัดกรองการแจ้งความร้องทุกข์ที่ถูกต้อง ถูกท้องที่ ขั้นที่สองการสอบถามของพนักงานสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง และขั้นที่สามการสอบถามเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในชั้นศาล จากที่ผู้เสียหายจะพยายามลืมเลือนเหตุการณ์และข้ามผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายนั้นไปให้ได้ กลับกลายเป็นการทำซ้ำซาก ตอกย้ำรอยแผล ตีตราบาป ทุกครั้ง ทุกขั้นตอน ผ่านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งจะต้องมีการซักถาม ถามค้าน ถามติง เพื่อค้นหาให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่แจ้งชัดปราศจากข้อสงสัย อันเนื่องมาจากหลักตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วางหลักไว้ว่า“ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น” และในวรรคท้ายยังย้ำอีกว่า “เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย” ดังนั้นการจะลงโทษจำเลยได้จะต้องได้ข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่ชัดแจ้งที่สุด ทุกขั้นตอน ผ่านคำให้การชั้นพนักงานสอบสวนและคำเบิกความของประจักษ์พยานปากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้หญิงในชั้นศาล บางคำถามในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องถาม เพื่อค้นหาให้ได้ข้อเท็จจริงที่แจ้งชัด บางคำถามนั้นเจตนาจะถามเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ละเอียดที่สุดหรือถามเพื่อจะทำลายน้ำหนักคำพยานซึ่งเป็นหญิง แต่ไม่ว่าโดยจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม ผลกระทบของคำถามนั้นยังคงบาดลึกและเป็นแผลเป็น ฝังอยู่ในจิตใจของผู้เสียหายตลอดไป นอกจากนั้นยังมี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๗๒ ยังวางหลักไว้อีกว่า “การพิจารณาและสืบพยานในชั้นศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย” ประจักษ์พยานปากผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง จะต้องพูดเล่าข้อเท็จจริงต่อหน้าจำเลยซึ่งบ่อยครั้งเป็นจำเลยหลายคนที่ทุกคนล้วนเป็นคนที่ล่วงเกินหรือเคยทำร้ายตนเอง ความอับอาย ความหวาดกลัว ความฝังใจ ย่อมยากจะลบเลือน

วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นของบุคลากรทางกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรการในการคุ้มครองผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทบทวนองค์ความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความเชี่ยวชาญและได้ทดลองปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับหลักการ ช่องทาง วิธีการและการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆในกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิสตรีและสถาบันครอบครัว อันได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาโดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลย พ.ศ. ๒๕๕๖ หนังสือเวียน และบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ OSCC เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) และตัวแทนจากองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (NGO) รวมทั้งสิ้น ๗๐ คน

เอกสารประกอบ