Ensuring an enabling environment for Thai women to enter politics: Sharing European and International ideas and best practices

International speakers and Thai political parties will gather in Bangkok on 6 November for a seminar on women’s leadership and political participation to discuss lessons and models of gender equality that could help empower Thai women.

Date:

Press Release
For Immediate Release

Women in Politics

English | ภาษาไทย

Bangkok, Thailand — As of January 2017, women accounted for only 4.9 per cent of Parliament in Thailand, ranking 184th out of 190 nations globally. Neighbouring countries of Cambodia and Malaysia have at least double the number of women in parliament with rates of 20.3 per cent and 10.4 per cent respectively. Thailand also ranks low on UNDP’s Gender Inequality Index (2017) coming in 93rd place compared to Belgium, which is 5th, and Finland, which is 8th.

Photo: UN Women/Minji Lee
Photo: UN Women/Minji Lee

Both Finland and Belgium have successfully increased economic growth and sustainable development by promoting gender equality within their societies. By learning from such European examples of gender equality in politics, the Seminar on Promoting Women’s Leadership and Political Participation aims to empower Thai women to enter politics at the local and national levels in preparation for the upcoming general elections in February 2019.

“Increasing women’s political participation requires a whole of society approach,” explains Anna-Karin Jatfors, Regional Director, a.i. for UN Women Asia and Pacific. “Overcoming obstacles for women to enter politics will not only create an enabling environment to increase female political participation, but can bring about transformative change for all. For example, evidence from around the world shows that countries with more women in politics rate higher on assessments of the quality of governance, including with respect to educational systems and infrastructure investment.”

The seminar is being co-hosted by UN Women in partnership with the EU Delegation to Thailand, the Embassy of Finland, the Ministry of Justice, the Ministry of Social Development and Human Security, King Prajadhipok’s Institute and the Association for the Promotion of the Status of Women.

“Equal political participation of women and men is an important condition for good governance and effective democracy,” says Pirkka Tapiola, EU Ambassador to Thailand. “It can help improve the lives of women and men, bring more equitable societies and inclusive governance, increase standards of living, enhance positive develop¬ment in education, health and infrastructure, and reduce political corruption.”

Thailand has demonstrated its commitment to implementing the 2030 Agenda for Sustainable Development and its Sustainable Development Goals (SDGs), which recognize that progress on gender equality is fundamental for realizing human rights for all and achieving sustainable, equitable and inclusive societies. The SDGs articulate the critical importance of women’s political and economic leadership for delivering on the broader promise of the 2030 Agenda of “Leaving no one behind”.

“From experiences in local development, it is clear that mindset and perspective of women are absolutely vital to problem-solving and development,” emphasizes Warisara Ampornsiritam, Research and Development officer at King Prajadhipok’s Institute. “The Seminar aims to create a policy brief that will encourage government departments and political parties to empower women through increasing the number of women in positions of leadership and decision-making bodies.”

The one-day seminar will consist of two panels. The first will feature international speakers from Belgium, Finland, the European Parliament and the UN Women Regional Office for Asia and the Pacific. It will be moderated by Professor Vitit Muntarbhorn, a law professor at Chulalongkorn University in Bangkok, who has served on various United Nations bodies. This session is aimed at Thai women who want to become more actively involved in politics and leadership positions and the Thai Government.

The second panel will discuss the role and responsibility of Thai political parties in promoting women’s leadership and participation in light of the SDGs and the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW). The panel will feature representatives from seven political parties including Bhumjaithai, Pheu Thai, Democrat party, Chart Pattana, Future Forward, Chartthaipattana, Action Coalition for Thailand and the Palung Prachachart Party. Ratchada Jayagupta, PhD., senior researcher and a lecturer at the Asian Research Centre for Migration at Chulalongkorn University, will moderate the discussion.

“It is an investment that rewards the whole society, it builds a more prosperous, sustainable and equal future,” says Ambassador Satu Suikkari-Kleven, Embassy of Finland in Thailand. “Let’s get together to inspire each other in supporting the goal of a more equal political participation in the world!”

This event will seek to empower women, using examples from leaders in gender equality such as Finland and Belgium, to meaningfully participate and engage in Thai politics at local and national levels.

For more information please contact:

Montira Narkvichien
Regional and Communications Specialist, UN Women Asia and the Pacific,
Tel: +66 2 288 1579 | Mobile: +66 81 6688900 | Email: montira.narkvichien@unwomen.org

ข่าวประชาสัมพันธ์

Women in Politics

English | ภาษาไทย

การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้หญิงเข้าสู่การเมือง: การแลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีจากยุโรปและต่างประเทศ

นักการเมืองจากประเทศไทยและยุโรป และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ได้มาร่วมกันในงานสัมมนาที่จัดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการหาแนวทางส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง งานนี้จัดขึ้นที่โรงแรมแลนด์มาร์ก ถนนสุขุมวิท

กรุงเทพฯ — “การเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงต้องอาศัยแนวทางบูรณาการทั้งสังคม” คุณอันนาคาริน ยัตฟอร์ช รักษาการผู้อำนวยการ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก อธิบาย “การก้าวผ่านอุปสรรคของผู้หญิงในการเข้าสู่การเมืองไม่พียงแต่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง แต่ยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วน ตัวอย่างเห็นได้จากข้อมูลจากทั่วโลกที่แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีผู้หญิงในงานการเมืองจำนวนมาก จะมีธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ซึ่งรวมถึงระบบการศึกษา และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

Photo: UN Women/Minji Lee
Photo: UN Women/Minji Lee

การสัมมนาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง UN Women สหภาพยุโรป สถานทูตฟินแลนด์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี

“การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับธรรมาภิบาลที่ดีและประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ” เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าว “การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะช่วยพัฒนาชีวิตผู้หญิงและผู้ชาย นำไปสู่สังคมที่เท่าเทียมและธรรมาภิบาลที่มีความเสมอภาค เพิ่มมาตรฐานคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน และยังลดการทุจริตทางการเมือง”

ประเทศไทยได้แสดงถึงพันธะสัญญาในการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDG) ซึ่งตระหนักว่าความก้าวหน้าของความเท่าเทียมทางเพศสภาพคือพื้นฐานที่จะนำไปสู่สิทธิมนุษยชนเพื่อปวงชน และบรรลุสังคมที่ยั่งยืน เท่าเทียม และเสมอภาค เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) อธิบายไว้อย่างแจ้งชัดถึงความสำคัญของความเป็นผู้นำของผู้หญิงทางการเมืองและเศรษฐกิจในการดำเนินงานสู่เป้าหมายของพันธะสัญญาวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง (Leave no one behind)

“จากประสบการณ์ในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นที่ชัดเจนว่าความคิดและมุมมองของผู้หญิงนั้นจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา” คุณวริศรา อัมพรศิริธรรม จากสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เน้นย้ำ “การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวนโยบายที่จะกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและพรรคการเมืองส่งเสริมผู้หญิงผ่านการเพิ่มจำนวนผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำและโครงสร้างในการตัดสินใจ

การสัมมนาเวลา 1 วันนี้ประกอบไปด้วยการอภิปราย 2 หัวข้อ เวทีเสวนาแรกประกอบไปด้วยวิทยากรจากประเทศเบลเยียม ฟินแลนด์ สภายุโรป และ UN Women สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ที่แลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีต่อผู้หญิงไทยที่ต้องการมีส่วนร่วมในตำแหน่งทางการเมืองและการตัดสินใจ และรัฐบาลไทย ช่วงนี้ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำรงหลายตำแหน่งภายใต้กรอบกิจกรรมขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอิสระว่าด้วยการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

เวทีเสวนาที่ 2 เป็นการแลกเปลี่ยนเรื่อง บทบาทและความรับผิดชอบของพรรคการเมืองไทยในการส่งเสริมความเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงภายใต้กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เวทีเสวนาประกอบไปด้วยผู้แทนจากพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติพัฒนา พรรคอนาคตใหม่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย และพรรคพลังประชาชาติ ดำเนินรายการโดย ดร. รัชดา ไชยคุปต์ นักวิจัยอาวุโส และอาจารย์ ประจำศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“การลงทุนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งมวล และสร้างอนาคตที่รุ่งเรือง ยั่งยืน และเท่าเทียม” ซาตู ซุยก์การี-เคลฟเว่น เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย กล่าว “เราจึงควรร่วมมือกันในการสร้างแรงบันดาลใจต่อกันในการสนับสนุนเป้าหมายการมีส่วนร่วมทางเมืองที่เท่าเทียมกันในโลกใบนี้”

งานในครั้งนี้มีเป้าหมายในการส่งเสริมผู้หญิง โดยใช้แบบอย่างจากผู้นำด้านความเท่าเทียมทางเพศสภาพ รวมถึงผู้แทนจากประเทศฟินแลนด์ และเบลเยี่ยม ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศทั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันมุมมองและข้อเสนอในการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงจากผู้เข้าร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คุณมณฑิรา นาควิเชียร
เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการงานสื่อสารองค์กร, UN Women Asia and the Pacific,
Tel: +66 2 288 1579 | Mobile: +66 81 6688900 | Email: montira.narkvichien@unwomen.org