Asia-Pacific must prioritize gender equality to achieve sustainable peace

ประเทศในเอเชียแปซิฟิกต้องให้ความสำคัญเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ เพื่อบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืน

Date:

[Press Release] [ภาษาไทย]
For Immediate Release


Bangkok, Thailand – Women's participation and leadership must be at the core of peace and security efforts, a new study from UN Women finds.

Revealing groundbreaking new findings, UN Women and the Department of Women’s Affairs and Family Development (DWAFD), Ministry of Social Development and Human Security, of the Government ofThailand launched in Asia-Pacific the critical new report Preventing Conflict, Transforming Justice, Securing the Peace: A Global Study on the Implementation of Security Council resolution 1325.

Commissioned by the UN Secretary-General and led by independent author Radhika Coomaraswamy, former Special Representative of the Secretary-General on Children and Armed Conflict and Special Rapporteur on Violence against Women, the global study brings together research that unquestionably demonstrates that women’s empowerment and gender equality contribute to the conclusion of peace talks and sustainable peace, accelerating economic recovery, strengthening protection efforts of peace operations and humanitarian assistance, and building a culture of tolerance and inclusion.

The Global Study was initially presented at the UN Security Council’s High-level Review on the women, peace and security agenda held in New York in October 2015 commemorating the 15th anniversary of UN Security Council resolution 1325.

The study, which features case studies, data and good practices from different countries in the Asia–Pacific region, comes at a moment when the world is grappling with rising violence and conflict that has devastating impacts on women and girls and costs the planet over USD 14 trillion. This striking new research shows that peace endures when women can participate meaningfully in peace talks, and States are more resilient in the face of conflict and extremism when gender equality is prioritized.

“Evidence shows us that without women’s strong participation in peace processes and conflict prevention, there cannot truly be sustainable peace. Prevention is better than a cure,” said Roberta Clarke, UN Women Regional Director and Representative in Thailand. “UN Women is calling for stronger action to ensure women’s leadership in peace and security through political commitment and prioritizing financial support,” she stressed.

Highlighting the need to strengthen women’s role in peace and security in Thailand, Ms. Thirawadee Phumnikom, Acting Director General of DWAFD, provided: “Thailand sees the importance of women’s participation in the peace process at all stages, including prevention of conflict. In partnership with UN Women, we are moving forward elements of the United Nations Security Council Resolution 1325 and its associated resolutions at the national and local levels through developing a draft National Policy and Strategy on Women, Peace and Security”.

UN Security Council resolution 1325

The study coincides with the 15th anniversary of UN Security Council resolution 1325 (2000), which recognized for the first time the role of gender equality and women’s leadership in international peace and security. Yet over the last 15 years, the percentage of women in peace talks has stagnated in single digits, with national dialogues and decisions in conflict-affected countries dominated by a small group of male leaders. Direct consequences are felt on women’s lives: over half of the world’s maternal deaths occur in conflict-affected and fragile States; approximately half of out-of-school children of primary school age live in conflict-affected areas; and girls’ net enrolment rate in primary education is 17 points below the global rate. In conflict-affected settings, the risk of sexual violence, child marriage and HIV infection all increase.

In contrast, findings in the Global Study highlight that when women are at the peace tables, their participation increases the probability of a peace agreement lasting at least two years by 20 per cent, and 35 per cent over 15 years. Furthermore, evidence reflected in the study also shows that States that have higher levels of gender equality are less likely to resort to the use of force in relation to engagement with other States – making gender equality a powerful tool of conflict prevention.

During the event, UN Women’s Regional Director presented the main findings of the study, while Ms. Bandana Rana, Nepali member of the High Level Advisory Group on the Global Study, provided expert observations. DWF provided the opening address and shared an overview of the Thai Governments’ women, peace and security priorities and commitment to recognizing women's roles in the national agenda. In closing the launch, the Embassy of Japan, as co-chair of the Friends of the Global Study group, announced future plans for supporting women, peace and security in the region, namely co-hosting a symposium on WPS in mid-2016.

For more information, please contact:

Montira Narkvichien,
Ph: +6 681 668 8900;
Email: [ Click to reveal ]

Diego De La Rosa,
Ph: +66 87 341 2744;
Email: [ Click to reveal ]

Photo Gallery

Asia-Pacific launch of the new Global Study on Women, Peace and Security
Visit UN Women Asia-Pacific on Flickr to view more photo in high resolution. Photos: UN Women/Pathumporn Thongking

 

[ข่าวประชาสัมพันธ์]
๒๑ มกราคม ๒๕๕๙

ประเทศในเอเชียแปซิฟิกต้องให้ความสำคัญเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศเพื่อบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ – การมีส่วนร่วมและการเป็นผู้นำของผู้หญิงมีความสำคัญอย่างยิ่งในความพยายามสร้างสันติภาพและความมั่นคง

เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๙ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ร่วมกับ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดตัวรายงานสำคัญเรื่อง “การป้องกันความขัดแย้ง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการรักษาสันติภาพรายงานการศึกษาระดับโลก เพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๓๒๕” ในระดับภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก โดยรายงานได้นำเสนอข้อ ค้นพบใหม่ๆ ในระดับนานาชาติ

การศึกษาฉบับนี้จัดทำโดย สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ และ นำโดยผู้เขียนอิสระ นางราดิกา คุมารัสวามี (Radhika Coomaraswamy) ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติด้านเด็กและความขัดแย้งทางอาวุธ และอดีตผู้ประสานงานพิเศษ ด้านความรุนแรงต่อสตรี การศึกษาฉบับนี้รวบรวมงานวิจัยที่ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนและสิ้นสงสัย ว่าการเพิ่มพลังของผู้หญิง และความเสมอภาพระหว่างเพศนั้นช่วยผลักดันให้เกิดข้อตกลงในการเจรจาสันติภาพและช่วยให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเร่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ การเพิ่มความแข็งแกร่งในการคุ้มครองของปฎิบัติการเพื่อสันติภาพและ การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม รวมไปถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมการยอมรับและการมีส่วนร่วมอีกด้วย

การศึกษาฉบับนี้แล้วเสร็จในเวลาที่โลกกำลังเผชิญปัญหาความรุนแรงและความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบกับผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายกว่า ๑,๔๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลวิจัยล่าสุดในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสันติภาพจะก่อตัวขึ้นได้ เมื่อผู้หญิงมีบทบาท และส่วนร่วมที่สำคัญในการเจรจาเพื่อสันติภาพ

นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นอันดับต้นมีความยืดหยุ่น และสามารถ ฟื้นตัวกลับเมื่อประสบกับสถานการณ์ความขัดแย้งและความคิดเห็นสุดโต่ง โดยการศึกษาฉบับนี้รวมถีงกรณีตัวอย่าง ข้อมูล และบทเรียนที่ดีจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นางโรเบอร์ต้า คล้าค (Roberta Clarke) ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทน UN Women ประจำไทย กล่าวว่า “หลักฐานจากงานวิจัยแสดงให้เราเห็นว่า หากปราศจากการมีส่วนร่วมที่แข็งขันจากผู้หญิงในกระบวนการสร้างสันติภาพ และการป้องกันควาวมขัดแย้งแล้ว ก็จะไม่เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ซึ่งการป้องกันนั้นย่อมดีกว่าการรักษา UN Women สนับสนุนให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้การเป็นผู้นำของผู้หญิงในเรื่องสันติภาพ และความมั่นคงเป็นที่ยอมรับผ่านคำมั่นทางการเมืองและการจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณสนับสนุนในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นอันดับต้น”

ในการนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในเรื่องสันติภาพและความมั่นคงในประเทศไทย ถิรวดี พุ่มนิคม ปฏิบัติการแทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้กล่าวว่า “ประเทศไทยคำนึงถึงความสำคัญ ของการมีส่วนร่วมของสตรีในกระบวนการสันติภาพในทุกระดับซึ่งรวมไปถึงการป้องการความขัดแย้ง โดยในความร่วมมือกับ UN Women เราได้เดินหน้าในการดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ๑๓๒๕ รวมไปถึงมติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นผ่านการพัฒนาร่างนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง แห่งชาติ การเพิ่มความสามารถของผู้หญิงในการสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในข้อมติเพื่อยุติความ ขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ”

ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๓๒๕

การเปิดตัวการศึกษาฉบับนี้ตรงกับการครบรอบ ๑๕ ปีของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๓๒๕ ซึ่งผ่าน เป็นเอกฉันท์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการยอมรับบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงและความเสมอภาพระหว่างเพศ ในเรื่องสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในระยเวลา ๑๕ ปีที่ผ่านมา

อัตราส่วนของผู้หญิงในการเจรจา สันติภาพยังคงมีน้อยกว่าร้อยละ ๑๐ และการเจรจาระดับประเทศและการตัดสินใจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ยังคงดำเนินการโดยกลุ่มผู้นำชายกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งมีกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงโดยตรง อาทิ จำนวนการเสียชีวิตของผู้หญิงตั้งครรภ์มากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในรัฐที่เปราะบางหรือได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง จำนวนนักเรียนประถมศึกษามากกว่าครึ่งไม่ได้รับการศึกษาและต้องออกจากโรงเรียนกลางคันในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง อัตราการเข้าโรงเรียนของนักเรียนประถมศึกษาหญิงต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก ๑๗ จุด นอกจากนี้ อัตราเสี่ยงของการเกิดความรุนแรงทางเพศ การแต่งงานก่อนวัยอันควร และการติดเชื้อเอช ไอ วี ยังเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากความขัดแย้ง ในทางตรงข้าม งานวิจัยในการศึกษาระดับโลกฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อผู้หญิงมีส่วนร่วม ในการเจรจาเพื่อสันติภาพ การมีส่วนร่วมของผู้หญิงเพิ่มความเป็นไปได้ในอัตราร้อยละ ๒๐ ที่ข้อความตกลงสันติภาพจะยาวนานเกิน ๒ ปี และความตกลงทางสันติภาพอายุ ๑๕ปี ในอัตราร้อยละ ๓๕ ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานจากงานวิจัยบ่งชี้ว่าประเทศที่มีความเสมอภาคระหว่างเพศในอัตราสูงมีความเสี่ยงต่ำที่ใช้กำลังเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเสมอภาคระหว่างเพศ เป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลในการป้องกันความขัดแย้งได้

ผู้แทนจากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจะกล่าวเปิดงานและนำเสนอบทบาทของภาครัฐและการให้ความสำคัญกับบทบาทของสตรีในประเด็นสันติภาพและความมันคงในระดับประเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทน UN Women ประจำไทย จะนำเสนอผลลัพท์การวิจัยหลัก โดยมี นางบันดานา รานา (Bandana Rana) สมาชิกกลุ่มที่ปรึกษาระดับสูงชาวเนปาล ในการศึกษาฉบับนี้เป็นผู้นำเสนอข้อสังเกตุสำคัญเกี่ยวกับการศึกษา และสำหรับพิธีปิด ผู้แทนจากสถานเกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยในฐานะประธานร่วมของกลุ่มเพื่อนการศึกษาโลกจะเป็นผู้กล่าวปิดงานพร้อมทั้งนำเสนอแผนดำเนินงานในการสนับสนุนประเด็นเรื่องสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นต่อไป

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ

มณฑิรา นาควิเชียร
โทร: 081-6688900;
Email: [ Click to reveal ]