UN Women supports safe spaces for women and girls: Political will and gender-responsive policies will advance the economy and benefit peacebuilding

Date:

[Press Release]
For immediate release

English | ภาษาไทย

Songkhla, Thailand – When women and girls live in safe public spaces where they enjoy freedom of movement, improved livelihood and community resilience, they are able to participate as equal partners, decision makers, and beneficiaries of sustainable development, societies and economies are stronger in the Southern Border Provinces of Thailand.

Photo: UN Women/Pornvit Visitoran

The consequences of inaction do not fall only on women: where women do not have the opportunities and resources to enjoy their full economic opportunities, development, inclusive governance and peace will remain an aspiration for too many including boys and men in the country’s Muslim-south.

UN Women, in collaboration with the Department of Women’s Affairs and Family Development, Ministry of Social Development and Human Security are working together to empower women and girls in the Southern Border Provinces towards peace and gender equality.

“UN Women has a role to support Thailand on advancing women’s participation in the peace process as a pathway to enhancing women and girls’ security,” Miwa Kato, Regional Director for Asia and the Pacific said in her Opening Remarks at the National Consultation Workshop on Safe Space for Women in Southern Border Provinces, organized by UN Women and national partners.

In conflict situations, women carry on in spite of violence that may surround them: they seek education, continue careers, and raise families — sometimes traveling long distances to bring their children to safety. They are also working to prevent and mediate in conflicts and work as activists, judges, and government officials. Addressing the specific needs and priorities of women living in conflict situations requires careful attention, and specifically designed and targeted interventions to truly implement the 2030 Sustainable Development agenda applying the principle of “leaving no one behind”.

“Building inclusive and peaceful societies in the aftermath of conflict requires not only providing livelihood and economic empowerment opportunities for women, supporting them to be active in the economic and social recovery of their communities, but also ensuring that they play a leading role in local governance structures as well as the civil service,” Ms. Kato added.

In October 2012, UN Women supported and co-organized the first ever National Workshop on Women, Peace and Security with the Department of Women’s Affairs and Family Development to raise awareness and provide background on the international framework to members of the Sub-committee and women leaders from the southern border provinces.

One of the outcomes was to develop the National Policy and Strategy on Women, Peace and Security for the first time in Thailand. A consultation on the draft National Strategy was conducted with national partners in July 2015, and further consultations were conducted with government, civil society and women’s group stakeholders in the Southern Border Provinces. Also in October last year, as part of the commemoration of the 15th anniversary of the adoption of the United Nations Security resolution 1325 (2000) on Women, Peace and Security, Thailand committed through an official statement to develop a National Action Plan on women, peace and security, with the support of UN Women.

Media inquiries:

Montira Narkvichien
Regional Communications Specialist
|+66 81 668 8900 | Email: montira.narkvichien [at] unwomen.org

About UN Women

UN Women is the United Nations organization dedicated to gender equality and the empowerment of women. A global champion for women and girls, the organization was established in 2010 to accelerate progress on women’s rights worldwide. UN Women’s efforts are based on the fundamental belief that every woman has the right to live a life free from violence, poverty, and discrimination, and that gender equality is a prerequisite to achieving global development.

http://asiapacific.unwomen.org | Twitter| Facebook @unwomenasia

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559

English | ภาษาไทย

UN Women สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหนุนนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ สังคม และสันติภาพที่ยั่งยืน

จังหวัดสงขลา - เมื่อใดที่ผู้หญิงและเด็กสามารถดำรงชีวิตใน “พื้นที่สาธารณะปลอดภัย” อันหมายถึง การมีเสรีภาพที่จะเดินทาง สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้อย่างเสรี อันรวมไปถึง การมีสิทธิ เสรีภาพ มีความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในครัวเรือน และในเวทีการเมือง โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เมื่อนั้นจะบังเกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และความผาสุขในสังคม

Photo: UN Women/Pornvit Visitoran

เพื่อเป็นการร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในวันยุติความรุนแรงสากล องค์การเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ร่วมกับสำนักส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ศูนย์สันติวิธี กองอำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอรมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า จัด “การประชุมเพื่อนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่องพื้นที่ปลอดภัย สำหรับผู้หญิงและเด็ก” เพื่อนำเสนอแง่คิด และมุมมองจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อร่างนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านผู้หญิงกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัย ณ โรงแรม พีบี สมิหลา จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วม จากหลายภาคส่วนกว่า 100 คนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม

นางมิว่า คาโต้ ผู้อำนวยการ UN Women สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า UN Women มีบทบาทในการสนันสนุน ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกสหประชาชาติให้มีการดำเนินงานในเรื่องผู้หญิงกับสันติภาพ และความมั่นคง โดยมีความร่วมมือจากภาครัฐ และมีการสนับสนุนด้านงบประมาณ และนโยบายเพื่อขับเคลื่อนประเด็นความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย และความก้าวหน้าของผู้หญิง

เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในเรื่องสันติภาพและความมั่นคงในประเทศไทย UN Women ร่วมทำงานกับทุกภาคฝ่ายเพื่อมุ่งเดินหน้าในการดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ 1325 รวมไปถึงมติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นผ่านการพัฒนาร่างนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง แห่งชาติ การเพิ่มความสามารถของผู้หญิงในการสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในข้อมติเพื่อยุติความ ขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ

การเพิ่มพลังของผู้หญิงและความเสมอภาพระหว่างเพศนั้น ช่วยผลักดันให้เกิดข้อตกลงในการส่งเสริมสันติภาพอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเร่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ และความกลมเกลียวทางสังคม รวมไปถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมการยอมรับ และการมีส่วนร่วมอีกด้วย นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศที่ให้ความสำคัญ กับความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นอันดับต้นมีความยืดหยุ่น และสามารถฟื้นตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อในด้านอื่นๆ อีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม

มณฑิรา นาควิเชียร
เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการงานสื่อสารองค์กร UN Women
|+66 81 668 8900 | Email: montira.narkvichien [at] unwomen.org

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน

ยุทธศาสตร์ด้านผู้หญิงกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 UN Women ได้สนับสนุนและจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการระดับชาติเกี่ยวกับสตรี สันติภาพ และความมั่นคง ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นครั้งแรก เป้าหมายคือการสร้างเสริมความตระหนักรู้และให้ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกรอบโครงระหว่างประเทศแก่คณะอนุกรรมการและผู้นำสตรีจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลปรากฏประการหนึ่งที่เห็นได้คือ การตัดสินใจของคณะอนุกรรมการด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคง ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์ระดับชาติดังกล่าวกับหน่วยงานพันธมิตร ระดับประเทศในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ ยังมีการประชุมหารือกับผู้มีส่วนได้เสียจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และกลุ่มสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ในวาระครบรอบ15 ปีในการรับ ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1325 ประเทศไทยได้ให้คำมั่นผ่านคำแถลงอย่างเป็นทางการคราวนั้นว่า จะพัฒนาแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคง โดยการสนับสนุนจาก UN Women

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กำลังอยู่ในขั้นตอนทบทวนร่างยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "มาตรการและแนวทางเกี่ยวกับสตรี สันติภาพ และความมั่นคง" ในช่วงการประชุมคณะอนุกรรมการด้านสตรี สันติภาพ และความมั่นคง วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะอนุกรรมการได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยส่วนบุคคลของสตรี และเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา ผลกระทบจากความขัดแย้งที่รุนแรง รวมถึงความไม่ไว้วางใจทางสังคมของกลุ่มสตรีและเด็กทำให้ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคนี้ของไทยมีมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อวิธีคิดและแนวทางการป้องกันและการเสริมสร้างพลังอำนาจในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1325 ซึ่งผ่าน เป็นเอกฉันท์เมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการยอมรับบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิง และความเสมอภาพระหว่างเพศ ในเรื่องสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในระยเวลา 15 ปีที่ผ่านมา อัตราส่วนของผู้หญิงในการเจรจา สันติภาพยังคงมีน้อยกว่าร้อยละ 10 และการเจรจาระดับประเทศ และการตัดสินใจในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งยังคงดำเนินการโดย กลุ่มผู้นำชายกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งมีกับชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้หญิงโดยตรง อาทิ จำนวนการเสียชีวิตของผู้หญิงตั้งครรภ์ มากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในรัฐที่เปราะบางหรือได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง จำนวนนักเรียนประถมศึกษามากกว่าครึ่งไม่ได้รับการศึกษา และต้องออกจากโรงเรียนกลางคันในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งอัตราการเข้าโรงเรียนของนักเรียนประถมศึกษาหญิง ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก 17 จุด นอกจากนี้ อัตราเสี่ยงของการเกิดความรุนแรงทางเพศ การแต่งงานก่อนวัยอันควร และการติดเชื้อเอช ไอ วี ยังเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากความขัดแย้ง ในทางตรงข้าม งานวิจัยในการศึกษาระดับโลกของ UN Women ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อผู้หญิงมีส่วนร่วม ในการเจรจาเพื่อสันติภาพ การมีส่วนร่วมของผู้หญิงเพิ่มความเป็นไปได้ในอัตราร้อยละ 20 ที่ข้อความตกลงสันติภาพจะยาวนานเกิน 2 ปี และความตกลงทางสันติภาพอายุ 15 ปี ในอัตราร้อยละ 35 ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานจากงานวิจัยบ่งชี้ว่าประเทศที่มีความเสมอภาคระหว่างเพศในอัตราสูงมีความเสี่ยงต่ำที่ใช้กำลัง เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลในการป้องกันความขัดแย้งได้

http://asiapacific.unwomen.org | Twitter| Facebook @unwomenasia